ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็น
พลังงานสะอาด และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำาคัญสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน
ไดออกไซด์ ในฐานะหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำาหรับอนาคต เป็นแหล่งพลังงานสะอาด
ที่ช่วยโลกกลับไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ได้ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
ไฮโดรเจนพลังงานทางเลือกสำาหรับอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่การปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ตามเป้าหมายของประเทศ
ภายในปี 2065 - 2070 ไฮโดรเจนจะมีบทบาทสำาคัญในการเป็นแหล่งพลังงาน
ที่สามารถนำามาใช้ทดแทนพลังงานดั้งเดิมได้ มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูง
สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เป็นพลังงาน
สะอาด ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ สามารถนำาไป
ใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง (fuel Cell) ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและ
คาดว่าจะนำามาใช้อย่างกว้างขวางในอนาคต
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE
Power & Energy Society (Thailand) ร่วมกับ สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และชมรมไฮโดรเจนประเทศไทย ได้เล็งเห็น
ถึงความสำาคัญจึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ไฮโดรเจนสีเขียว:
เทคโนโลยี การผลิต กักเก็บ การขนส่ง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และ
การประยุกต์ใช้งาน” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคขนส่งและ
อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุน
วิชาการจาก สนพ. กฟผ. ปตท. สภาอุตสาหกรรม องค์การบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจก (องค์การมหาชน) บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
(JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา
พลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริษัทผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสถาบัน
อุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน
และเซลล์เชื้อเพลิง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน การกักเก็บ
การขนส่ง และการประยุกต์ใช้งานแก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการ
ออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้อง
2. เปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนา
ทุกคนและรับทราบแนวทางในการดำาเนินการและเตรียมความพร้อม
ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียว
กลุ่มเป้าหมาย
1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฮโดรเจนและพลังงาน
หมุนเวียน
2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของกริด
ไฟฟ้าและสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
3. ผู้สนใจลงทุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
4. บุคลากรและนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ