ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น
อย่างมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ
ลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับ
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Solar PV with Battery Energy Storage
System-BESS) จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำาคัญในการเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า
และรองรับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การออกแบบระบบ
ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานจำาเป็นต้องมีการ
วิเคราะห์และคำานวณที่แม่นยำาเพื่อให้ได้ขนาดระบบที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพสูงสุด
และคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โปรแกรม PVsyst และ Homer Pro เป็นซอฟต์แวร์
ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนและสามารถ
ใช้งานได้อิสระจากกันหรือใช้งานร่วมกัน โดย PVsyst ใช้สำาหรับการวิเคราะห์
สมรรถนะของระบบเซลล์แสงอาทิตย์อย่างละเอียด ทั้งในด้านการคำานวณพลังงาน
ที่ผลิตได้ เงื่อนไขทางภูมิอากาศ ผลกระทบของเงาบัง และการเลือกอุปกรณ์ที่
เหมาะสม ขณะที่ Homer Pro เหมาะสำาหรับการวิเคราะห์ระบบพลังงานแบบ
ผสมผสาน (Hybrid Energy System) โดยคำานวณความเป็นไปได้ทางเทคนิค
และเศรษฐศาสตร์ของระบบที่รวมแหล่งพลังงานต่างๆ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์
แบตเตอรี่ เครื่องกำาเนิดไฟฟ้า และโหลดไฟฟ้า
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงความ
สำาคัญจึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงวิชาการ “การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน โดยใช้โปรแกรม PVsyst และ Homer Pro”
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการช่วยวิเคราะห์และพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการลงทุน และเพิ่มความมั่นคงให้กับ
ระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำาคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
และการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. เพื่อออกแบบและวิเคราะห์ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เพื่อศึกษาและใช้โปรแกรม PVsyst ในการวิเคราะห์ศักยภาพการ
ผลิตไฟฟ้าของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ภายใต้สภาพแวดล้อมและ
เงื่อนไขที่แตกต่างกัน
3. เพื่อศึกษาและใช้โปรแกรม Homer Pro ในการวิเคราะห์ความ
เป็นไปได้ทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของระบบพลังงานแบบ
ผสมผสาน (Hybrid Energy System)
4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและพัฒนาโครงการ
พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีระบบกักเก็บพลังงานให้มีความมั่นคงและ
คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
5. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการเปลี่ยนผ่าน
สู่ระบบพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
และบุคคลทั่วไปที่สนใจ